การพุ่งแหลน (Javelin Throw)

พุ่งแหลนเป็นกรีฑาประเภทลาน ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องพุ่งแหลนที่มีน้ำหนักเท่า ๆ กันโดยพุ่งแหลนออกไปข้างหน้า ผู้ที่พุ่งได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ การพุ่งแหลนเป็นกรีฑาที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก นักกรีฑาจึงต้องอาศัยกำลังและความเร็วเพื่อพุ่งแหลนออกไปให้ได้ระยะทางไกลที่สุด การพุ่งแหลนมีทั้งยืนอยู่กับที่และวิ่งพุ่งแหลน

1.) เทคนิคในการพุ่งแหลนยืนอยู่กับที่ ทักษะเบื้องต้นของการพุ่งแหลนเป็นการฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักวิธีการจับแหลนและการยืนพุ่งแหลนอยู่กับที่ เพื่อให้นักเรียนเกิดความชำนาญในการบังคับแแหลนการฉุดแหลน การพุ่งปล่อยแหลนออกไปในท่าทางที่ถูกต้องและเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ

1.1) การจับแหลน การจับแหลนโดยทั่ว ๆ ไป มี 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 ใช้นิ้วกลางนิ้วหัวแม่มือรัดตรงสุดปลายเชือกด้านปลายแหลน นิ้วชี้ชี้ตามปลายแหลน นิ้วอื่น ๆ คอยช่วยประคองกดเพียงเบา ๆ เท่านั้น

วิธีที่ 2 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือรัดตรงสุดปลายเชือกด้านปลายแหลน นิ้วอื่น ๆ คอยช่วยประคองกดเพียงเบา ๆ เท่านั้น

การจับแหลนทั้งสองวิธีนี้ นิ้วทั้งหมดต้องไม่เกร็งจนแน่นเกินไป กำแหลนไว้เพียงหลวม ๆ จะกำแน่นเข้าเมื่อจะเริ่มพุ่งออกไปข้างหน้าเท่านั้น เมื่อจับแหลนตามวิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2 เรียบร้อยแล้วให้ยกแหลนขึ้นอยู่ในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะพาแหลนวิ่งหรือยืนพุ่งแหลนไปได้ จะเลือกจับยกแหลนแบบใดก็ได้ ตามที่ถนัด และสามารถบังคับแหลนไม่ให้ส่ายไปมา

1.2) การพุ่งแหลนยืนอยู่กับที่ การฝึกหัดพุ่งแหลนยืนอยู่กับที่เพื่อให้เกิดความชำนาญในการบังคับแหลน การฉุดแหลนและการปล่อยแหลนอย่างมีประสิทธิภาพ ครั้งแรกพุ่งใกล้ ๆ แล้วค่อย ๆ ไกลออกไปตามลำดับ โดยใช้กำลังส่งจากไหล่ ลำตัว เอว สะโพกและขา ตลอดจนการฝึกเปลี่ยนเท้า ซึ่งการพุ่งแหลนมีวิธีฝึก ดังนี้

1.2.1 การพุ่งแหลนลงดิน การฝึกพุ่งแหลนลงดิน เพื่อให้นักเรียนเกิดความชำนาญในการบังคับแหลน ให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายที่ต้องการ โดยยกหางแหลนสูงในลักษณะแทงปลา ครั้งแรกควรพุ่งแหลนไปข้างหน้าลงพื้นดินห่างจากตัวประมาณ 10 ฟุต เมื่อเกิดความชำนาญดีแล้วจึงทำเครื่องหมายห่างตัวออกไปเรื่อย ๆ โดยพุ่งแหลนให้ลงตรงที่หมายที่กำหนด


1.2.2 การพุ่งแหลนขึ้นอากาศ เมื่อจับแหลนตามวิธีที่ตนถนัดแล้ว ขณะที่จะเริ่มพุ่งแหลน ให้ทิ้งน้ำหนักตัวมาข้างหลังพร้อมกับเหยียดแขนข้างที่จับแหลนเกือบตึง บิดไหล่ เอวและสะโพกไปทางซ้าย พร้อมกับดึงแหลนเต็มแรง กลั้นหายใจพุ่งแหลนออกไปข้างหน้าทันที เมื่อพุ่งแหลนออกไปแล้วน้ำหนักตัวจะล้ำไปข้างหน้าให้รีบก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เพื่อรับน้ำหนักของลำตัวพร้อมกับเหวี่ยงเท้าซ้ายไปข้างหลัง ตามองตามแหลนไป


ขั้นนตอนการฝึกพุ่งแหลนสู่อากาศ

1.2.3 มุมของการพุ่งแหลน ขณะดึงแหลนมาข้างหน้าให้แหลนผ่านไหล่และทำมุมขึ้นจากพื้นประมาณ 45 องศา ลักษณะของแหลนที่พุ่งไปในอากาศจะถูกบังคับด้วยปลายนิ้ว
ทั้งหมดและข้อมือไม่ให้แหลนเชิดเกินไป โดยสามารถบังคับให้หัวแลนลงสู่พื้นดินได้อย่างดี


การพุ่งแหลนที่ถูกต้อง เมื่อแหลนหลุดพ้นจากมือจะต้องทำมุมกับพื้นประมาณ 45 องศา

2) กติกาการแข่งขันเบื้องต้น

  • ต้องจับแหลนตรงที่จับ การพุ่งแหลนจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่ หรือเหนือท่อนบนของแขนที่ใช้พุ่ง และต้องไม่เหวี่ยงหรือขว้างหรือรูปแบบการพุ่งซึ่งไม่เป็นไปตามแบบแผน
  • การพุ่งแหลนจะได้ผลเมื่อหัวแหลน ซึ่งเป็นโลหะถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆ ของแหลน
  • ในขณะที่แหลนพุ่งไปในอากาศแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะหมุนตัวหรือหันหลังให้กับส่วนโค้งก็ได้
  • ห้ามใช้เครื่องช่วยเหลือใด ๆ ในการแข่งขัน เช่น ใช้ผ้าเทปพันนิ้วมือ 2 นิ้ว หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน การใช้ผ้าเทปพันมือไม่อาจทำได้ ยกเว้นในกรณีที่ใช้ปิดบาดแผลเท่านั้น
  • ห้ามสวมถุงมือ
  • เพื่อช่วยให้จับแหลนได้กระชับยิ่งขึ้น ผู้เข้าแข่งขันสามารถคาดเข็มขัดหนังหรือวัสดุที่เหมาะสม
  • เมื่อเริ่มการพุ่งแล้ว ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้แข่งขันสัมผัสที่ลากต่อออกไปจากปลายของส่วนโค้งหรือพื้นข้างนอก หรือปล่อยแหลนออกไปด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม ให้ถือว่าการแข่งขันนั้นไม่มีผล
  • ผู้เข้าแข่งขันอาจหยุดการแข่งขันได้ แม้ว่าจะเริ่มการแข่งขันแล้ว โดยวางแหลนลงภายในหรือภายนอกทางวิ่ง รวมทั้งอาจจะออกไปจากทางวิ่งก็ได้ จากนั้นจะกลับเข้ามาที่ทางวิ่งและเริ่มต้นการแข่งขันใหม่ก็ได้เช่นกัน
  • ถ้าแหลนหักในขณะพุ่งออกไปหรือขณะที่ลอยอยู่ในอากาศ ถือว่าไม่มีผลต่อการแข่งขัน ทำการแข่งขันใหม่ได้โดยมีข้อแม้ว่าการพุ่งแหลนนั้นปฏิบัติถูกต้องตามกติกา แต่ถ้าผู้แข่งขันเสียการทรงตัวและกระทำผิดกติกาการแข่งขันนั้นถือว่าไม่มีผล
  • สำหรับการแข่งขันที่มีผลนั้น ส่วนหัวของแหลนจะต้องตกลงภายในขอบของรัศมีการพุ่งอย่างสมบูรณ์
  • ผู้เข้าแข่งขันต้องไม่ออกจากทางวิ่ง จนกว่าแหลนจะตกลงพื้น ให้ผู้เข้าแข่งขันเดินออกทางด้านหลังของส่วนโค้งและด้านหลังเส้นที่ต่อออกไปจากปลายของส่วนโค้ง
  • จะต้องถือแหลนกลับมาที่เส้นเริ่ม ห้ามพุ่งกลับมา

3) แบบฝึกทักษะการพุ่งแหลน
1. ยืนพุ่งแหลนให้เข้าไปในวงล้อยางนอกรถจักรยานที่แขวนไว้
2. ยืนพุ่งแหลนให้ลงในวงกลมที่พื้น




 

กติการพุ่งแหลน
ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยง หรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ
การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผล
ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลาย ของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล
หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่
แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้